การปรับแต่งเอกสาร HTML
การปรับแต่งเอกสารในที่นี้ จะหมายถึงการใส่สีสันให้กับเอกสาร HTML ในส่วนของการใส่พิ้นหลัง (Background) ให้โฮมเพจของเรามีสีสันเพิ่มขึ้น ซึ่งการใส่พื้นหลังให้โฮมเพจสามารถใส่ได้ 2 แบบ คือ การใส่สีให้พื้นหลัง และการใส่ภาพให้พื้นหลัง
ในการใส่รูปแบบนั้นจะใส่เิิ่พิ่มในส่วนของแท็กเปิด ของแท็ก
เพราะคำสั่งนี้เป็นส่วนขยายที่เรียกว่า Attribute ของแท็ก นั้นเอง โดยจะมีรูปแบบดังนี้ 1. แบบใส่สีให้พื้นหลัง bgcolor = “ชื่อสี” หรือ bgcolor = “#รหัสสี”
2. แบบใส่ภาพให้พื้นหลัง background = “ชื่อภาพ”
รูปแบบการใส่สีให้ื้พื้นหลัง
รูปแบบการใส่ภาพให้ื้พื้นหลัง
Tip HTML
การระบุค่าสีสำำหรับภาษา HTML
การระบุค่าสีสำหรับภาษา HTML สามารถระบุค่าได้ 2 แบบ คือ แบบระบุโดยใช้ชื่อสี (ภาษาอังกฤษ) เช่น red green blue เป็นต้น และอีกรูปแบบหนึ่ง คือการระบุค่าสีเป็นรหัสสี ซึ่งอยู่ในรูปแบบของเลขฐาน 16 ได้แก่ 1-9 และ E-F (ทั้งหมดรวม 16 ตัว) และเื่พื่อให้ได้สีที่หลากหลายจึง มีการผสมของหลักสีกลายมาเป็นรหัสค่าสี 6 หลัก ซึ่งมีตั้งแต่รหัส 000000 – FFFFFF ซึ่งจะได้สีทั้งหมดประมาณ 16.7 ล้านสีด้วยกัน
ในรหัสสี 6 หลักนี้ มีความหมายเกี่ยวการผสมสีอยู่ โดยแบ่งเป็น 3 สีหลัก หรือจะเรียกว่าแม่สีก็ได้คือ สองหลักแรก คือสีแดง และ 2 หลักกลางคือสีเขียว และ 2 หลักสุดท้ายคือสีน้ำเงิน ซึ่งเราจะเรียกว่า RGB (Red Green Blue) โดยแม่สีสามตัวหลักนี้ เขียนอยู่ในรูปแบบรหัสสีสำหรับใช้กับภาษา HTML ได้ดังนี้
– รหัสสีแดง #FF0000
– รหัสสีเขียว #00FF00
– รหัสสีน้ำเงิน #0000FF
นอกจากนี้ก็มีสีหลักอีก 2 สี ซึ่งก็คือ
– รหัสสีดำ #000000
– รหัสสีขาว #FFFFFF
หลักการของสีทางคอมพิวเตอร์เราจะเรียกว่าสีทางแสง ซึ่งจะมีความแตกต่างจากสีทางวัตถุอยู่บ้าง นั้นก็คือ หากเป็นสีในทางวัตถุเมื่อเราผสมสี แดง เขียว น้ำเงิน เข้าด้วยกันจะได้ผลลัพธ์เป็นสีดำ แต่สำหรับสีทางแสง เมื่อผสมสีีทั้ง 3 นี้เข้าด้วยกันจะได้เป็นสีขาว ดังเช่นเมื่อเรา เราเอารหัสสี แดง เขียว น้ำเงิน ซึ่งก็คือ #FF0000 #00FF00 และ #0000FF รวมกันจะได้รหัสสีของสีขาว #FFFFFF
การใส่ภาพในเอกสาร HTML
ในบทความตอนนี้มีส่วนที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาพ ดังนี้จึงขอให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องของภาพที่จะนำมาใช้ทำเว็บกันซะเลย ซึ่งไฟล์ภาพที่เป็นมาตรฐานที่สามารถนำำมาใส่ในเว็บมีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด โดยแต่ละภาพก็มีลักษณะการนำมาใช้ที่แตกต่างกัน ดังนี้
1. GIF (Graphic Intechange Format)
ไฟล์ภาพชนิดนี้ นิยมใช้สำหรับภาพกราฟิคที่เป็นลักษณะลายเล้น ข้อความตัวอักษร หรือภาพการ์ตูนต่าง ๆ ซึ่งมีสีไม่มากนัก เพราะไฟล์ GIF มีค่าสีสูงสุดเีพียง 256 สี ดังนั้นทำให้ภาพกราฟิคที่เราเซฟเป็นไฟล์ประเภท GIF เป็นภาพที่มีลักษณะทึบ และไม่สามารถไล่เฉดสีได้มากนัก แต่ข้อดีของไฟล์ประเภทนี้คือ เราสามารถสร้างและเซฟภาพประเภทนี้ให้มีลักษณะพื้นหลังโปร่งใส (Transparent) ซึ่งสามารถนำภาพเหล่านี้ไปใช้กับพื้นหลังสีอะไรก็ได้ ไฟล์ภาพประเภทนี้มีไฟล์นามสกุลเป็น .gif
2. JPG (Joint Photographic Expert Group)
ไฟล์ประเภทนี้สามารถแสดงผลของสีได้สูงสุดถึง 16.7 ล้านสี ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับภาพที่มีเฉดสีเยอะ เช่น ภาพถ่ายต่าง ๆ หรือภาพอื่น ๆ ที่มีสีเยอะ นอกจากนี้ยังสามารถเลือกที่จะบีบอัดไฟล์ภาพให้มีขนาดเล็กลงได้ แต่คุณภาพจะลดลง และ่ไฟล์ประเภทนี้ไม่สามารถทำเป็นแบบพื้นหลังโปร่งใส่ได้ ไฟล์ภาพประเภทนี้มีไฟล์นามสกุลเป็น .jpg และ .jpeg
3. PNG (Portable Network Graphic)
ไฟล์ประเภทนี้จะมีให้เลือกเซฟ 2 แบบคือ แบบ PNG-8 ซึ่งสามารถแสดงผลสีได้สูงสุด 256 สี และยังสามารถเซฟเป็นแบบ PNG-24 ซึ่งสามารถแสดงผลสีได้สูงสุดถึง 16.7 ล้านสีเหมือนไฟล์ JPG นอกจากนี้ยังสามารถทำเป็นภาพพื้นหลังโปร่งใส เหมือนกับ GIF ได้ด้วย แต่ไฟล์ภาพประเภทนี้จะมีขนาดไฟล์ใหญ่กว่าภาพ JPG มาก ดังนั้นจึงมักใช้เซฟภาพซึ่งมีขนาดเล็ก ๆ แต่มีการใช้สีมาก เช่น ภาพไอคอน ต่าง ๆ ไฟล์ประเภทนี้มีนามสกุล .png
** หมายเหตุ จากโค้ด รูปแบบการใส่ภาพให้ื้พื้นหลัง ในการกำหนดชื่อรูปจะต้องมีรูปภาพเตรียมไว้ด้วย และจะต้องระบุเส้นทางการเข้าถึงไฟล์ภาพนั้น ๆ ให้ถูกต้อง ในที่นี้ Webmaster เซฟรูปภาพอยู่ที่เดียวกันกับไฟล์ HTML หากคุณเซฟภาพไว้คนล่ะที่ก็ต้องระบุเส้นทางการเข้าถึงไฟล์ภาพ เช่น หากคุณสร้างโฟลเดอร์ชื่อ images ไว้เก็บรูปโดยเฉพาะอีกที โค้ดก็จะต้องระบุดังนี้ body background = ” images/lilies.jpg”