การออกแบบระบบนำทาง (Site Navigation Design)
ระบบ Navigation เป็นระบบนำทางที่จะนำผู้ชมไปยังหน้าต่างๆ ของเว็บไซต์ ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว และรู้ว่ากำลังอยู่ตรงไหนของเว็บไซต์ นอกจากนี้ยังใช้กำหนดบทบาทของผู้ใช้ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มๆ ได้ โดยผู้ใช้แต่ละกลุ่มจะสามารถเข้าถึงหน้าเว็บเพจได้อย่างมีขอบเขต ตามสิทธิที่วางไว้เท่านั้น
ระบบ Navigation เป็นระบบนำทางที่จะนำผู้ชมไปยังหน้าต่างๆ ของเว็บไซต์ ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว และรู้ว่ากำลังอยู่ตรงไหนของเว็บไซต์ นอกจากนี้ยังใช้กำหนดบทบาทของผู้ใช้ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มๆ ได้ โดยผู้ใช้แต่ละกลุ่มจะสามารถเข้าถึงหน้าเว็บเพจได้อย่างมีขอบเขต ตามสิทธิที่วางไว้เท่านั้น
องค์ประกอบของระบบ Navigation
1. เครื่องนำทาง
1. เครื่องนำทาง
– เมนูหลัก เป็นเมนูสำหรับลิงค์ไปยังหน้าหัวข้อหลักของเว็บไซต์ มักอยู่ในรูปของลิงค์ที่เป็นข้อความหรือภาพกราฟฟิก และมักถูกจัดวางอยู่ด้านบนในเว็บเพจทุกหน้า
– เมนูเฉพาะกลุ่ม เป็นเมนูที่เชื่อโยงเว็บเพจปัจจุบันกับเว็บเพจอื่นภายในกลุ่มย่อยที่มี เนื้อหาเกี่ยวเนื่องกัน มักอยู่ในรูปแบบของลิงค์ข้อความหรือกราฟฟิกเช่นกัน
– เครื่องมือเสริม สำหรับช่วยเสริมการทำงานของเมนู มีได้หลายรูปแบบ เช่น ช่องค้นหาข้อมูล (Search Box), เมนูแบบดร็อปดาวน์ (Drop-Down menu), แผนผังเว็บไซต์ (Site Map), อิมเมจแมพ (Image Map)
– เมนูเฉพาะกลุ่ม เป็นเมนูที่เชื่อโยงเว็บเพจปัจจุบันกับเว็บเพจอื่นภายในกลุ่มย่อยที่มี เนื้อหาเกี่ยวเนื่องกัน มักอยู่ในรูปแบบของลิงค์ข้อความหรือกราฟฟิกเช่นกัน
– เครื่องมือเสริม สำหรับช่วยเสริมการทำงานของเมนู มีได้หลายรูปแบบ เช่น ช่องค้นหาข้อมูล (Search Box), เมนูแบบดร็อปดาวน์ (Drop-Down menu), แผนผังเว็บไซต์ (Site Map), อิมเมจแมพ (Image Map)
2. เครื่องมือบอกตำแหน่ง (Location Indicator)
เป็นสิ่งที่ใช้แสดงว่า ขณะนี้ผู้ชมกำลังอยู่ในตำแหน่งใดในเว็บไซต์ เครื่องบอกตำแหน่งมีได้หลายรูปแบบ เช่น ข้อความภาพกราฟฟิกที่แสดงชื่อเว็บเพจ หรือข้อความบ่งชี้ และบ่อยครั้งที่เครื่องมือบอกตำแหน่งถูกรวมไว้กับตัวเมนูเลย
ลักษณะของระบบเนวิเกชั่นที่ดี
– อยู่ในตำแหน่งที่เห็นได้ชัดและเข้าถึงง่าย เช่น ส่วนบนหรือด้านขวาของเว็บเพจ
– เข้าใจง่ายหรือมีข้อความกำกับชัดเจน ผู้ชมใช้ได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาศึกษา
– มีความสม่ำเสมอ วางอยู่ในตำแหน่งเดียวกันของทุกหน้าเว็บเพจ และใช้รูปแบบ สีสัน เหมือนกัน ทำให้ผู้ใช้รู้สึกคุ้นเคย
– บอกผู้ใช้ว่ากำลังอยู่ที่ตำแหน่งใดของเว็บไซต์
– มีการตอบสนองเมื่อใช้งาน เช่น เปลี่ยนสีเมื่อผู้ชมชี้เมาส์หรือคลิก
– จำนวนรายการพอเหมาะ ไม่มากเกินไป
– มีหลายทางให้เลือกใช้ เช่น เมนูกราฟฟิก , เมนูข้อความ, ช่องค้นหาข้อมูล (Search Box), เมนูดร็อปดาวน์ (Drop-down menu),
แผนผังเว็บไซต์ (Site Map)
– มีลิงค์ให้คลิกกลับไปยังโฮมเพจได้เสมอ เพื่อให้ผู้ชมกลับไปเริ่มต้นใหม่ในกรณีที่หลงทางไม่รู้ว่าตัวเองอยู่ที่ตำแหน่งใด
– อยู่ในตำแหน่งที่เห็นได้ชัดและเข้าถึงง่าย เช่น ส่วนบนหรือด้านขวาของเว็บเพจ
– เข้าใจง่ายหรือมีข้อความกำกับชัดเจน ผู้ชมใช้ได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาศึกษา
– มีความสม่ำเสมอ วางอยู่ในตำแหน่งเดียวกันของทุกหน้าเว็บเพจ และใช้รูปแบบ สีสัน เหมือนกัน ทำให้ผู้ใช้รู้สึกคุ้นเคย
– บอกผู้ใช้ว่ากำลังอยู่ที่ตำแหน่งใดของเว็บไซต์
– มีการตอบสนองเมื่อใช้งาน เช่น เปลี่ยนสีเมื่อผู้ชมชี้เมาส์หรือคลิก
– จำนวนรายการพอเหมาะ ไม่มากเกินไป
– มีหลายทางให้เลือกใช้ เช่น เมนูกราฟฟิก , เมนูข้อความ, ช่องค้นหาข้อมูล (Search Box), เมนูดร็อปดาวน์ (Drop-down menu),
แผนผังเว็บไซต์ (Site Map)
– มีลิงค์ให้คลิกกลับไปยังโฮมเพจได้เสมอ เพื่อให้ผู้ชมกลับไปเริ่มต้นใหม่ในกรณีที่หลงทางไม่รู้ว่าตัวเองอยู่ที่ตำแหน่งใด