การใช้ คำสั่ง Switch
รูปแบบคำสั่ง
switch (ตัวแปร)
{ case ค่าที่ 1 : คำสั่งที่ 1 ;
break;
case ค่าที่ 2 : คำสั่งที่ 2 ;
break;
……..
case ค่าที่ N : คำสั่งที่ N;
break;
default : คำสั่งเมื่อไม่มีค่าที่ตรงกับที่ระบุใน case ;
}
การทำงาน
– โปรแกรมจะตรวจสอบจากตัวแปรที่คำสั่ง switch ว่ามีค่าเท่าไร(อาจเป็นสมการ การคำนวณก็ได้) แล้วนำมาตรวจสอบ กับคำสั่ง case ถ้าตรงกับค่าใดก็จะทำงานตามคำสั่งใน case นั้น เมื่อพบคำสั่ง break มีผลทำให้กระโดดไปทำงานนอกคำสั่ง case ในกรณีที่ไม่มีค่าใดตรงกับ case ที่ระบุ โปรแกรมก็จะมาทำงานที่คำสั่ง default โดยอัตโนมัติ
– ค่าที่ได้จาก ตัวแปร ของ switch นั้นจะต้องเป็นค่าที่มีชนิดเป็น char, byte, short, int เท่านั้น ถ้าหากเป็นชนิดอื่น Java จะฟ้องด้วย error ทันที
– คำสั่ง break ใน switch เป็นคำสั่งที่มีความสำคัญ ถ้าไม่ใส่ การทำงานอาจให้ผลลัพธ์ที่ไม่สมบูรณ์ได้
ตัวอย่างการใช้งาน
switch (year)
{ case 5 : Irate = 12;
break;
case 15 : Irate = 18;
break;
case 30 : Irate = 24;
break;
default : System.out.println (“ตัวเลขผิด ต้องเป็น 5, 15 หรือ 30 เท่านั้น”);
}