บทเรียนการเขียนเว็บด้วยภาษา html
การปรับรูปแบบตัวอักษร (FONT)
แบบตัวอักษร
ผมเคยได้รับคำถามหลายต่อหลายครั้งว่า จะเปลี่ยนรูปแบบอักษร(FONT) ได้อย่างไร หลายคนคงรู้แล้วว่าสามารถเปลี่ยนขนาดตัวอักษรได้ในคำสั่ง FONT หรือจะใช้คำสั่ง H แต่หากลืมไปแล้วหรือไม่ทราบ ลองคลิ๊กเข้าไปดูสิครับ
FONT รูปแบบต่างๆ ไม่สามารถทำงานได้ในทุกๆแห่ง…
สิ่งนี้สำคัญมากครับ คำสั่งปรับรูปแบบตัวอักษรจะได้ผล ก็ต่อเมื่อ เครื่องของคุณหรือผู้ใช้มีข้อมูลของ FONT นั้นๆอยู่ ยกตัวอย่างเช่น คุณอยู่ในไทย แต่จะเปิดเว็บของประเทศเกาหลีเหนือ ซึ่งมี FONT ที่เครื่องของคุณไม่มี เวลาแสดงบนหน้าจอก็จะเป็นภาษาต่างดาว อะไรทำนองนั้นครับ หากคุณจะเปิดอ่านได้ก็ต้องโหลด FONT มาเข้าเครื่องก่อน ซึ่งทั้งโลกนี้คงมี FONT เป็นหมื่นเป็นแสนแบบ กระจายอยู่ในเครื่องคอมฯทั่วโลก
อ้าว! แล้วจะทำยังไงให้ผู้ใช้ทั่วโลกอ่านตัวอักษรได้แน่ๆ ไม่ผิดเพี้ยนล่ะ !?
ทำได้ครับ คุณต้องจัดการทำตัวหนังสือที่คุณพิมพ์ให้กลายเป็นรูปภาพ จะด้วยโปรแกรมตกแต่งรูปภาพ หรืออะไรก็ตามที เมื่อคอมฯโหลดรูปขึ้นมา ตัวอักษรก็จะโผล่ขึ้นมาด้วยไม่ผิดเพี้ยน …แจ๋วมั้ยครับ ?
แต่คุณคงไม่จำเป็นต้องทำถึงขนาดนั้น เพียงเลือกรูปแบบตัวอักษรที่นิยมใช้กัน ซึ่งผมมีตัวอย่างให้คุณ ด้านล่างนี้…
<FONT FACE=”arial”> FONT แบบ arial </FONT>
<FONT FACE=”garamond”> FONT แบบ garamond </FONT>
<FONT FACE=”courier”> FONT แบบ courier </FONT>
<FONT FACE=”cordia new”> FONT แบบ cordia new </FONT>
<FONT FACE=”eucrosiaupc”> FONT แบบ eucrosiaupc </FONT>
<FONT FACE=”angsana new”> FONT แบบ angsana new </FONT>
ผมใช้แบบนี้เกือบทั้งเว็บ เป็น FONT ไทยที่ใช้กันมาก
<FONT FACE=”tahoma”> FONT แบบ tahoma </FONT>
<FONT FACE=”jasmineupc”> FONT แบบ jasmineupc </FONT>
<FONT FACE=”impact”> FONT แบบ impact </FONT>
<FONT FACE=”kodchiangupc”> FONT แบบ kodchiangupc </FONT>
<FONT FACE=”lilyupc”> FONT แบบ lilyupc </FONT>
<FONT FACE=”modern”> FONT แบบ modern </FONT>
<FONT FACE=”symbol”> ΦΟΝΤ σψμβολ </FONT>
กลายเป็นสัญลักษณ์(symbol)เพี้ยนๆซะแล้ว
<FONT FACE=”wingdings”> FONT แบบ wingdings </FONT>
โอ้… อักษรรูปภาพสมัยใหม่รึเปล่า !? คนที่เคยใช้ WORD บ่อยๆ อาจเคยปรับไปเจอ FONT ประหลาดๆแบบนี้
เทคนิคอีกอย่างหนึ่ง
คุณสามารถกำหนดหลายๆ FONT ในคราวเดียวได้ แบบนี้ :
<FONT FACE=”arial, cordia new, angsana new”> ข้อความ </FONT>
สังเกตว่าผมใช้ FONT สามแบบ ซึ่งคั่นแต่ละแบบออกจากกันด้วยเครื่องหมายลูกน้ำ( , ) คุณจะกำหนดมากกว่านี้ก็ได้ เมื่อคอมฯโหลดหน้าที่กำหนดเช่นนี้ขึ้นมา Browser จะตรวจสอบว่าในเครื่องคอมฯมี FONT อันแรก(arial)รึเปล่า หากมี Browser จะใช้ FONT นี้แสดงตัวอักษร แต่หากไม่มี จะตรวจสอบ FONT ที่สอง(cordia new) หากไม่มีอีก ก็จะตรวจสอบ FONT ที่สาม(angsana new) สุดท้ายหากในเครื่องไม่มีเลย ก็คงจะออกมาเป็นภาษาต่างดาว
ผมเคยเห็นหน้าที่มีการกำหนด FONT เรียงกันแบบนี้ไว้มากสุด 10 ประเภท ซึ่งคุณไม่ต้องใช้ถึงขนาดนั้นก็ได้ เพียงเลือก FONT ที่คิดว่ากลุ่มผู้อ่านรับได้แน่ๆก็พอ อ้อ.. วิธีนี้ใช้กับการกำหนด FONT ด้วย Cascading Style Sheets (CSS) ได้เช่นกันครับ
กลับ_การสร้างตาราง กำลังอ่านการปรับรูปแบบตัวอักษร ไป_การปรับพื้นหลัง